ระบบการศึกษาต่ออินเดีย


ระบบการศึกษาต่ออินเดีย


ระบบการศึกษา ประเทศอินเดีย

1. ระดับอนุบาล (Kindergarten)

เป็นการศึกษาในระดับที่เด็กอายุระหว่าง 3-5 ซึ่งไม่ใช่ภาคบังคับ แต่เพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา


2. ระดับประถมศึกษา (Primary Education)

เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งรัฐบาลอินเดีย กำหนดไว้สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี อายุเฉลี่ยของเด็กที่เรียนในชั้นนี้ระหว่าง 6- 10 ปีหรือ 6-11 ปี หลักสูตร 5- 6ปี (grade 1-6)


3. ระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education) แบ่ง เป็น 2 ระดับ

คือ - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (High School Education) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 11-14 ปี หรือ 11-15 ปี กำหนดระยะเวลาศึกษาไว้4 - 5ปี (grade6-10) หรือ (grade7-10) เมื่อนักเรียนสอบผ่านจะได้รับ Secondary School Certificate - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Higher School Education) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 16-17 ปี กำหนด ระยะเวลาศึกษาไว้ 2 ปี (grade11-12) เมื่อนักเรียนสอบผ่านระดับนี้จะได้รับ Higher Secondary Education Certificate หรือ Senior School Certificate รวมระยะเวลาศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นระยะเวลา 10-12 ปีหรือ 12 ปี (grade12) เมื่อนักเรียนจบ grade12 แล้วหากประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะต้องสอบผ่าน Public Exam ซึ่งดำเนินการโดย Board Education ของรัฐแต่ละรัฐ สำหรับนักเรียนไทยที่จบชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.6) จากประเทศไทยเทียบได้เป็น grade12 และในการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของอินเดียนั้นไม่ต้องสอบ Public Exam
ทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณารับเข้าเรียนโดยดูคะแนนเฉลี่ยตลอด หลักสูตรของนัก เรียนจาก Transcript เท่านั้น

ระบบการศึกษาต่ออินเดีย


4. ระดับอาชีวศึกษา (Vocational Education)

การศึกษาในระดับนี้จัดขึ้นสำหรับผู้ที่มีความถนัด ทางช่างฝีมือ หรือวิชาชีพเฉพาะทาง ซึ่งไม่ประสงค์หรือไม่สามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ ช่างก่อสร้าง ช่างเครื่องยนต์ การบัญชี เลขานุการ ฯลฯ ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลและเอกชน หลักสูตรระยะสั้น 6-12 เดือน หลักสูตรระยะยาว2 - 4 ปี ผู้ที่จบ grade10 มีสิทธิ์เข้าศึกษาได้ แต่โรงเรียนเหล่านี้จะใช้ภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาฮินดี(Hindi) ในการเรียนการสอบ ดังนั้นนักเรียนไทยจึงไม่นิยมไปศึกษา ในระดับนี้



5. ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)

มหาวิทยาลัยในอินเดียเป็นของรัฐทั้งสิ้น แต่ละมหาวิทยาลัยประกอบด้วย College มากมาย College บางแห่งเป็นของเอกชนซึ่งอยู่ใน ความควบคุมทั้งด้านหลักสูตรการศึกษาและการสอบไล่ของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ เมื่อสิ้นปีการศึกษา มหาวิทยาลัยก็จะจัดสอบและมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สอบได้


ระบบการศึกษาต่ออินเดีย

การศึกษาในระดับอุดมศึกษามีดังนี้ คือ

ระดับปริญญาตรี (Bachelor’s Degree) หลักสูตร ปริญญาตรี โดยทั่วไปกำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 3 ปี ซึ่งได้แก่
ปริญญา ตรีทางศิลปะศาสตร์ (B.A.)
วิทยาศาสตร์ (B.Sc.)
พาณิชยศาสตร์ (B.Com)
เภสัชศาสตร์ (B.Pharm บางแห่ง 4 ปี ) แต่ยังมีหลักสูตรปริญญาตรีที่กำหนดจำนวนปีการศึกษาแตกต่างจากนี้ คือ ปริญญาตรี 4 ปี ได้แก่ สาขาวิชาทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ (บางมหาวิทยาลัย) ปริญญา 5 ปี ได้แก่ สัตวศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมศาสตร์ หลักสูตรปริญญาตรีบางหลักสูตร ต้องสำเร็จปริญญาบางสาขามาก่อน แล้วมาต่อหลักสูตรเหล่านี้อีก 3 ปี ได้แก่ หลักสูตรนิติศาสตร์ (LL.B.) และสำหรับการศึกษา (B.Ed) และพลศึกษา (B.P.Ed) เรียนต่ออีก 1 ปี


ระดับปริญญาโท (MASTER Degree)

หลักสูตรปริญญาโทประมาณ 2 ปีต่อจากปริญญาตรี ยกเว้นสาขาวิชาการศึกษาและพลศึกษา ซึ่งกำหนดระยะเวลาไว้ 1 ปีต่อจากระดับปริญญาตรี  

ระดับ MASTER OF PHILOSOPHY (M.PHIL) ซึ่งเป็นการศึกษาในระดับก่อนปริญญาเอก กำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 1 ปี เป็นการ ศึกษาทั้ง Course Work และเขียน Thesis ด้วย มหาวิทยาลัยบางแห่งได้กำหนดให้นักศึกษาต้องเรียน M.Phil ก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก

ระดับปริญญาเอก หลักสูตรนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี สำหรับการเรียนการสอนนั้น สถานศึกษาบางแห่งกำหนดให้เรียน Course Work และเขียน Thesis แต่บางแห่งให้ทำ Research ตามหัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติเท่านั้น

 


ภาค การศึกษาของโรงเรียน
ภาคแรก      ประมาณ เดือนเมษายน - เดือนกรกฎาคม
ภาคสอง      ประมาณ เดือนสิงหาคม - เดือนตุลาคม
ภาคสาม      ประมาณเดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม


ภาค การศึกษาของมหาวิทยาลัย
ภาคแรก       ประมาณ เดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม
ภาคสอง      ประมาณ เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม